- Digital Storytelling -

เส้นทางท่องเที่ยว
ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ยกระดับอัตลักษณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบวกค้าง
บนพื้นฐานชีวิตวิถีใหม่ผ่านพลังนวัตกรชุมชนนักเล่าเรื่อง

ดาวน์โหลด PDF
images Digital Storytelling
hero2

โครงการวิจัยพัฒนา Digital Storytelling
ยกระดับอัตลักษณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบวกค้าง บนพื้นฐานชีวิตวิถีใหม่ผ่านพลังนวัตกรชุมชนนักเล่าเรื่อง
แหล่งทุนวิจัย ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเภททุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

shape

เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาวิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมประเพณีของชาวยอง ที่วัดป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีชาวยองอาศัยอยู่ถึง ร้อยละ 90 มีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษา ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี อันควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอด ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค ความรู้ทางสมุนไพร และภูมิปัญญาทางด้านงานหัตถศิลป์ ซึ่งวัดป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง เป็นสถานที่เรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา และขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตชาวยอง เพื่อให้เยาวชนลูกหลานและคนรุ่นใหม่ได้สัมผัส และศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาวิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมประเพณีของชาวยอง เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนและประชาชนเกิดความรัก ความหวงแหนในภูมิปัญญาวิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

บ้านไม้ด่างโฮมสเตย์ เป็นโฮมสเตย์ที่ให้ลูกค้าได้สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นของชาวไทยอง โดยจะเป็นสไตล์บ้านของชาวยอง ห้องพักเน้นความโปร่งและสบาย ให้ความรู้สึกเหมือนไปพักบ้านญาติ มีเช่าชุดไทยอง ถ่ายรูปและสัมผัสวิถีชีวิตชาวไทยอง อาหารเช้าแบบพื้นถิ่น ข้าวเหนียว ไส้อั่ว หมูทอด แกงโฮ๊ะ แกงหน่อไม้ และน้ำพริกตาแดง อร่อยอิ่มท้อง

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic

เป็นกลุ่ม ผ้าฝ้ายที่ใช้แรงงานคนถักทอฝ้ายด้วยมือให้กลายเป็นผืนผ้าแทบจะทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย ไปจนถึงการทอให้เกิดลวดลายและสีสันหรือการทอเป็นผืนเพื่อนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าต่อไป โดยเทคนิคการทอนั้นมีหลายแบบขึ้นอยู่กับความสามารถและวิธีการของแต่ละท้องถิ่น เช่น ย้อมเส้นด้ายก่อนทอ หรือทอแล้วย้อมทั้งผืน ฯลฯ ซึ่งการทอด้วยมือทำให้ความแน่นและลวดลายอาจไม่สม่ำเสมอกัน แต่ก็ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของงานทอมือ

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

ชันโรง (Stingless Bees) เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กใน พบได้ในทุกภูมิภาคของไทย ในไทยมีทั้งหมด 34 สายพันธุ์ ชื่อชันโรง (ชัน-นะ-โรง) หมายถึงโรงงานผลิตชัน เพราะผลิตชันได้ค่อนข้างเยอะ เมื่อก่อนเราเอาชันมาใช้อุดภาชนะ อุดฐานพระ ทำยาแผนโบราณ แต่ยุคนี้เราพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค สร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเชื้อราและจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหรือแผลอักเสบในช่องปากและคอ จึงนำมาใช้เป็นยารักษาแผลอักเสบในปาก สบู่ ยาสีฟัน สเปรย์ช่องปาก ลูกอม และสารสกัดผสมน้ำดื่ม ขนาดของชันโรงเล็กกว่าผึ้งมาก พูดให้เห็นภาพก็คือตัวเท่าแมลงหวี่ มีขา 3 คู่ คู่ที่สามซึ่งอยู่ด้านหลังยาวที่สุด ทำหน้าที่ขนเกสรเข้ารัง

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic

สล่ายอง จัดเป็นเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ OTOP กรมการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์ สีเงิน Classic (อนุรักษ์คุณค่าสูง) เป็นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง ผลิตได้จำนวนน้อยเพราะขั้นตอนและกระบวนการผลิตยากและซับซ้อน เป็นงานหัตถกรรมประณีตศิลป์ มีเอกลักษณ์ของสินค้าแต่ละชิ้น ต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตโดยผลิตสินค้า ในปริมาณไม่มากและผลิเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม วัตถุดิบหลักในการสร้างผลิตภัณฑ์คือ “ขี้เลื่อย” แหล่งวัตถุดิบได้จากการเลื่อยไม้หรือการขัดไม้แกะสลักเน้นการใช้วัตถุดิบภายในชุมชน และขี้เลื่อยจากโรงงานเลื่อยไม้ในอำเภอสันกำแพง และอำเภอข้างเคียง

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดย สล่าเพชร วิริยะซึ่งได้รวบรวมเพื่อนฝูง ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหา ช่างแกะสลักฝีมือดีและมีความรักในศิลปะการแกะสลัก ไม้แบบล้านนามารวมตัวกันจัดตั้ง กลุ่มแกะสลักขึ้นมา เมื่อปีพ.ศ.2531 คุณลุงประยูร จรรยาวงศ์ (2458) คอลัมน์นิสต์ชื่อดังแห่งหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐในขณะนั้น ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือน พร้อมกับตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านจ๊างนัก” อันหมายถึงบ้านที่มีช้าง เยอะแยะมากมาย บ้านจ๊างนัก ได้มีการพัฒนารูปแบบการแกะสลักช้าง จากเดิมที่ช่างแกะจะมีการแกะสลักแบบตายตัว รูปแบบจะซ้ำกัน มาเป็นการแกะสลักช้างที่ดูมีชีวิตชีวา มีท่าทางท่วงทำนองที่เหมือน ช้างจริง ๆ ซึ่งนับเป็นแห่งแรกที่มีการแกะสลักช้าง รูปแบบเสมือนจริง

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic

พระวิหารแฝด วัดบวกค้าง สร้างในสมัยยุคราชวงศ์มังราย ต่อมารกร้างเพราะภัยสงคราม ต่อมาพระยากาวิละได้ฟื้นฟูบ้านเมือง ชาวยองได้อพยพจากเชียงตุงมาอยู่ โดยเจ้ากรมหม่อมสุริยวงศา เจ้าเมืองยอง รุ่นที่ 34 ได้นำไพร่พลมาตั้งอยู่ที่วัดบวกค้าง และได้บูรณวัด ซากวิหารเก่า ได้ต่อหลังคาออกไป สร้างพระนอนทางใต้ ชื่อพระนอนหล้า หรือพระเจ้านอนหล้า ดังนั้นวิหารจึงมีหลังคาเป็นหลังคาแฝด โดยซีกเหนือเป็นวิหารเก่าในสมัยโบราณที่หลงเหลืออยู่ ส่วนซีกใต้เป็นวิหารที่ต่ออกมา มีไว้ให้พระนอนหล้า ซึ่งชาวยองอพยพมา มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นประธานในวิหาร คือ กู่ดำ มนดกพระพุทธรูปองค์ประสาทที่เป็นของเก่า เป็นซากโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย อายุประมาณ 500-600 ปี และ พระนอนหล้าเป็นพระพุทธรูปที่ชาวยองสร้างขึ้น เป็นลักษณะของไทลื้อเมืองยอง อายุประมาณ 200 กว่าปี ท่านที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของคนยอง โบราณวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

ณ วัดโป่งช้างคด ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ คือ "เงาภาพพระวิหารกลับด้าน" โดยปรากฎแสงแปลกประหลาดส่องเข้าในกุฏิในห้องนอนอดีตเจ้าอาวาส หลังมรณภาพเมื่อ 3 ปีก่อน ทำให้เกิดภาพกลับด้านสร้างความอัศจรรย์ต่อผู้พบเห็น โดยพระปิยะพงษ์ สุภมงฺคโล รักษาการเจ้าอาวาส เปิดเผยว่า วัดบ้านโป่งช้างคต เป็นวัดเก่าแก่ หลายชั่วอายุคน ทั้งนี้ได้เข้าไปในห้องเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 เวลาประมาณ 15.00 น.เห็นแสงส่องเข้าไปอย่างแปลกประหลาด สังเกตดูก็พบว่าเป็นรูปพระวิหารกลับกัน เอาข้างบนเป็นข้างล่าง และมีรูปศีรษะกลับกันคือเอาศีรษะลงข้างล่างด้วย พอเปิดต่างหน้ากว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ก็จะมีแสงส่อง แต่ถ้าเปิดหน้าต่างออกกว้างแสงก็จะเข้าเยอะ หรือเปิดไฟก็จะไม่เห็นแสงดังกล่าวส่องลอดผ่านเข้าไปแต่อย่างใด ซึ่งห้องดังกล่าวก่อนหน้านี้เคยเป็นห้องนอนของ พระอธิการอุดร จนฺทปญฺโญ อายุ 65 ปี อดีตเจ้าอาวาส ที่มรณภาพไปประมาณ 3 ปีแล้ว ทางวัดจึงปิดไว้ เพิ่งจะมาเปิดแล้วก็เห็นแสงส่องดังกล่าว ชาวบ้านยังเชื่อว่าเป็นรูปภาพอัศจรรย์ที่พระอุดร อดีตเจ้าอาวาสที่มรณภาพแสดงอภินิหารให้เห็นเพราะเป็นเกจิล้านนาเหมือนกัน

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic

บ้านป่าตาลนั้นในอดีตเป็นหมู่บ้านร้างมาก่อน มี 2 ตา ยาย ได้มาทำความสะอาดในบริเวณนี้ เห็นว่าในบริเวณนี้มีเจดีย์เก่า เป็นวัดร้างมาก่อน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงไปชักชวนผู้คน มาบูรณะวัดนี้ โดยเริ่มสร้างสิ่งแรกนั้นก็คือ พระพุทธรูป โดยปัจจุบันก็ปฏิสถานเป็นพระประธานในวิหาร เรียกว่าหลวงพ่อเหลียวอายุ 200 กว่าปี และยังมี พระสิงห์ยองอายุ 400 กว่าปี หลังจากนั้นก็ตั้งสิ่งปลูกสร้างต่างในบริเวณวัดขึ้น จึงเกิดเป็น วัดป่าตาล เรียกมาจากชื่อตามหมู่บ้าน ในสมัยก่อนนั้นมีต้นตาลเยอะ ชาวบ้านจึงเรียกว่า หมู่บ้านป่าตาล ซึ่งหมู่บ้านป่าตาลนั้น ในปัจจุบันยังคงรักษาประเพณี เอกลักษณ์ วัฒนธรรม ของวิถีชาวยอง โดยปัจจุบันก็ปฏิสถานเป็นพระประธานในวิหาร เรียกว่าหลวงพ่อเหลียวอายุ 200 กว่าปี และยังมี พระสิงห์ยองอายุ 400 กว่าปี หลังจากนั้นก็ตั้งสิ่งปลูกสร้างต่างในบริเวณวัดขึ้น จึงเกิดเป็น วัดป่าตาล เรียกมาจากชื่อตามหมู่บ้าน ในสมัยก่อนนั้นมีต้นตาลเยอะ ชาวบ้านจึงเรียกว่า หมู่บ้านป่าตาล ซึ่งหมู่บ้านป่าตาลนั้น ในปัจจุบันยังคงรักษาประเพณี เอกลักษณ์ วัฒนธรรม ของวิถีชาวยอง

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

ย่ำขาง เป็นวิธีการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บแบบพื้นบ้านล้านนาอีกประเภทหนึ่ง เป็นการรักษาแบบ ภูมิปัญญาโบราณ สมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า ส่วนมากใช้สำหรับบำบัด หรือ รักษาอาการเจ็บปวด ตามร่างกาย โดยใช้เท้าชุบน้ำยา(น้ำไพลหรือน้ำมันงา) แล้วไปย่ำลงบนขางที่เผาไฟจนร้อนแดง แล้วจึงไปย่ำ บนร่างกาย หรืออวัยวะของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด พร้อมทั้งเสกคาถาอาคมกำกับด้วย ในอดีตหมอเมือง จะใช้เท้าย่ำรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมทั้งศรีษะด้วย แต่ต่อมามีการปรับเปลี่ยน เป็นใช้มือ หรือ ลูกประคบนวด ในส่วนของศรีษะ แทนส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงใช้เท้าย่ำเหมือนเดิม

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic

เฮือนเจ้นขุน เป็นเรือนไม้โบราณ เป็นบ้านเก่าโบราณไตลื้อ เดิมตั้งอยู่บ้านสันเหนือ ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ที่บ้านป่าตาล อ.สันกำแพง ให้คงไว้รูปแบบเดิมทุกอย่าง แต่ปรับปรุงใหม่ให้เป็นร้านอาหารมีโต๊ะเก้าอี้เพิ่มเท่านั้น หลังนี้อายุกว่า 80 ปี แต่เดิมในอดีตเป็นเรือนของ พ่อขุนกำแพงพิสิฐ ณ ปัจจุบันตกทอดสู่ลูกหลาน รุ่นที่ 4 ของวงค์ตระกูล ทางลูกหลาน ได้อนุรักษ์เรือนไม้หลังนี้ ให้เหมือนเดิมมากที่สุด โดยเป็นเรือนทำด้วยไม้ทั้งหลัง ยกพื้นสูง ส่วนด้านบนจัดโชว์ของเก่าแก่ ไว้ให้ได้เดินชมเรื่องราวในอดีต

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

ชมรมผ้าทอพื้นเมืองวัดป่าตาล สนับสนุนให้แม่บ้านเข้ามาทอผ้าเพื่อหารายได้ ทั้งนี้ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า โดยมีการทอผ้าไทยอง ผ้าซิ่นลายสันกำแพง ผ้าซิ่นทอ ยกดอกสีตากอ ผ้าซิ่นลายดี 4 เป๋ หรือผ้าทอ 4 ตะขอ เป็นผ้าทอของคนยอง ผ้าฝ้ายที่ใช้คือ ผ้าฝ้ายไหมประดิษฐ์ ซึ่งมีจุดเด่นคือ สีไม่ซีดสีไม่ตก ไม่หด ไม่ยืด

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic

นางสุพัตรา อิกำเหนิด เดิมมีอาชีพ รับจ้างเย็บผ้า ได้มีความคิดที่จะหันมาทดลอง เลี้ยงไส้เดือน เพื่อที่จะผลิตปุ๋ย ลดต้นทุนการปลูกต้นไม้ นำมาทดแทนปุ๋ยเคมี โดยทดลองการเลี้ยงไส้เดือน จากประมาณ 1-2 กิโล หลังจากนั้นมีการขยายไส้เดือนออกมา โดยไม่ต้องใช้ขั้นตอนที่เยอะ จึงเล็งเห็นว่า ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน ช่วยลดทุนในการปลูกผัก ปลูกต้นไม้ และสามารถสร้างรายได้ เพิ่มช่องทางรายได้

ดูวิดีโอ
เปิด Infographic
shape
shape

เส้นทางท่องเที่ยว
ชุมชนตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

shape

ดาวน์โหลด E-Book เส้นทางท่องเที่ยว
ชุมชนตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ดาวน์โหลด PDF